ความเชื่อเรื่องพระพรหมในศาสนาพุทธ
พระพรหมในทางพุทธศาสนา
โลกปัจจุบันที่เราดำรงอยู่หมุนไปเร็วมาก เรามาสู่ยุคของโลกอินเทอร์เน็ตที่การติดต่อสื่อสารหรือการเดินทางสะดวกสบาย หรือแม้กระทั่งการใช้ชีวิตประจำวันของเรา สิ่งอำนวยความสะดวกถูกคิดค้นสร้างสรรค์ขึ้นมาให้เราได้ใช้ หากแต่ว่าวิทยาการของมนุษย์นั้นยังมิได้ก้าวไกลจนถึงขั้นที่จะสามารถรู้ได้ว่า เรามาจากที่แห่งใด โลกเกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งยังเป็นคำถามที่หลายคนยังคงสงสัย.
ในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์มีการกล่าวถึงเทพผู้มีฤทธิ์ที่สามารถดลบันดาล สร้างสรรพสิ่ง ให้เกิดขึ้นบนโลก เทพผู้ให้กำเนิดมนุษย์ เทพผู้ลิขิตชีวิตของมนุษย์ทุกคน อย่างที่เราชอบพูดกันจนติดปากว่า พรหมลิขิต
ในบทความนี้ผู้เขียนจะนำเสนอในเรื่องของพระพรหม ในความเชื่อของพุทธศาสนา
ความเชื่อเรื่องพระพรหมในศาสนาพุทธ.
ศาสนาพุทธแบ่งประเภทของพระพรหมออกเป็นสองประเภท ประเภทที่ ๑ เรียกว่า รูปพรหม หรือพรหม ที่มีรูป พรหมประเภทนี้ มี ๑๖ ชั้น
ประเภทที่ ๒ เรียกว่า อรูปพรหม หรือพรหมที่ไม่มีรูป พระพรหมทั้งสองประเภทอาศัยอยู่บนสวรรค์ แต่อยู่คนล่ะชั้น พระพรหมประเภทที่ ๒ ที่เรียกว่า อรูปพรหม จะอยู่ชั้นที่สูงกว่า รูปพรหม เหตุก็เพราะว่า พรหมที่เป็นอรูปพรหม ได้บำเพ็ญกุศล บารมี ต่างๆ ทำสมาธิจนถึงขั้นได้ฌานสมาบัติ กุศลนี้จึงทำให้เกิดเป็นอรูปพรหม แต่อย่างไรก็ตามพระพรหมก็ยังคงต้องเวียนว่ายอยู่ใน สังสารวัฏ ไม่ว่าจะอยู่ชั้นใดก็ตาม ก็ด้วยอำนาจของ โลภะ โทสะ โมหะ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนจะมาประสูติเป็น เจ้าชายสิทธัตถะและออกบวชจนบรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ก็ได้เกิดเป็นพรหมมาก่อน ชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้ามิไช่ พระเวสสันดร แต่เป็นพรหม ดังนั้นพระพรหมจึงถือเป็นเทพที่มีฤทธิ์มาก มีบารมี ดลบันดาลให้ผู้ที่ศรัทธามีความเจริญรุ่งเรื่อง
ในทางพระพุทธศาสนา มีหลักธรรมอันประเสริฐที่จะทำให้ปถุชนคนธรรมดาดำเนินชีวิตอย่างประเสริฐสุขและมีความบริสุทธิ์เหมือนดั่งพรหมและเมื่อตายไปก็จะไปเกิดเป็นพระพรหม หลักธรรมที่ว่านี้คือ พรหมวิหาร ๔ มีหลักปฏิบัติดังนี้
๑.เมตตา คือ ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า
๒.กรุณา คือ ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวงสัตว์
๓.มุทิตา คือ ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง ประกอบด้วยอาการแช่มชื่นเบิกบานอยู่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป
๔.อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือมีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตาชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลอันสมกับความรับผิดชอบของตน (พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
คาถาบูชาพระพรหม
ทำจิตใจให้สงบ ตั้งจิตอธิษฐานระลึกถึงพระพรหม
ว่าคาถา
โอมปะระเมสะนะมัสการัม องการะนิสสะวะ รัง พรหมเรสสะยัม
ภูปัสสะวะวิษณุ ไวยะทานะโมโทติลูกปัมทะระมา ยิกยานัง
ยะไวยะลา คะมุลัม สะทา นันตะระ วิมุสะตินัน นะมัตเต
นะมัตเตร จะ อะการัง ตโถวาจะ เอตามาตาระยัต ตะมัน ตะรามา
กัตถะนารัมลา จะสะระวะ ปะติตัม สัมโภพะกลโล ทิวะทิยัม มะตัมยะ
พระพรหมมีฤทธิ์ดลบันดาลสิ่งต่างๆบนโลกดังนั้นผู้ที่บูชาพระพรหมเป็นประจำ จะประสบแต่โชคลาภ ความเจริญ คิดสิ่งใดสมดั่งใจปรารถนา
จาตุรนต์ สุขกมล
Line:jaturon12299
Facebook: จาตุรนต์ สุขกมล
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น